คอร์สเรียนจากศูนย์ถึงร้อย

 เรียนออนไลน์ เข้าเรียนตอนไหนก็ได้ ดูย้อนหลังได้ 

สำหรับผู้ที่สนใจคอร์สนี้ สามารถสมัครเรียนได้ในราคาพิเศษจาก

3990 เพียง 2590

 

สมัครเรียนคอร์สนี้ สอนอะไรบ้าง

ต้นทุนในการเปิดร้านเท่าไร

เป็นคำถามยอดฮิตของคนที่สนใจอยากเปลี่ยนมาทำอาชีพช่างซ่อมโทรศัพท์มือถือ ถ้าดูจากราคาเครื่องมือครบเซ็ตแล้ว ก็ถือว่าราคาถูกลงมาจากเมื่อก่อนอยู่มาก ทำให้เปิดร้านได้ง่ายขึ้น แล้วจริงๆ ต้นทุนในการเปิดร้านเท่าไรกันแน่ ตามไปอ่านเลยครับ

read more

เราสอนอะไรบ้าง

ต้นทุนในการเปิดร้านรับซ่อมโทรศัพท์มือถือ ต้องใช้ทุนเท่าไหร่

ก่อนที่จะไปพูดถึงเรื่องของต้นทุนในการเปิดร้าน ผมอยากให้พวกเรารู้จัก Business Model Canvas เพราะการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไปนัก หากเรามีการวางแผนทำธุรกิจที่ดี

หนึ่งในตัวช่วยในการวางแผนทำธุรกิจแบบมืออาชีพที่หลายองค์กรใช้กันก็คือ Business Model Canvas ใช้รวบรวมข้อมูลสำคัญ นำมาวิเคราะห์ วางแผน และประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

การทำธุรกิจแบบมืออาชีพด้วยการใช้เครื่องมือสำหรับวางแผนทำธุรกิจอย่าง Business Model Canvas จะช่วยให้ธุรกิจของคุณให้มีโอกาสเติบโตมากยิ่งขึ้น และสามารถจัดการธุรกิจได้อย่างมีระบบ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Business Model  Canvas มีคำถาม 9 ข้อที่คุณจะต้องรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์และหาคำตอบ คำถาม 9 ข้อมีอะไรบ้างไปดูกันครับ

1.ลูกค้าหรือผู้ซื้อสินค้าหรือบริการเป็นใคร ต้องการขายให้คนกลุ่มไหน

2.จุดขายของสินค้าหรือบริการ คุณค่าของเราคืออะไร

3.ช่องทางการขาย  ออนไลน์หรือออฟไลน์

4.วิธีในการรักษาลูกค้า รักษาฐานลูกค้า

5.รายได้ของธุรกิจ มาจากทางไหนบ้าง ซ่อมหรือขาย หรือทั้งซ่อมและขาย

6.สิ่งที่ต้องมีในการดําเนินธุรกิจ เช่นคน เครื่องมือ ความรู้

7.กิจกรรมที่ต้องทําเพื่อให้โมเดลธุรกิจอยู่ได้ การส่งเสริมการขาย หรือกิจกรรมอื่น

8.พันธมิตรหลัก รับสินค้าหรืออะไหล่จากใคร มีใครสามารถช่วยเราขายได้บ้าง

9.โครงสร้างต้นทุน ต้นทุนทั้งหมดของธุรกิจนี้มีอะไรบ้าง

ผมเชื่อว่าถ้าคุณตอบคำถามทั้ง 9 ข้อนี้ได้คุณก็พร้อมที่จะเปิดร้านแล้วครับ

ในคำถามข้อที่ 6 สิ่งที่จะต้องมีในการดำเนินธุรกิจคือ คน เครื่องมือ ความรู้ คนเรามีแล้วก็คือตัวเราเอง เครื่องมือเราจะมาดูกันว่าใช้อะไรบ้าง มีต้นทุนในการจัดซื้อมาใช้ในราคาเท่าไหร่ ส่วนความรู้ก็หาข้อมูลจาก Fixlikepro ได้เลยครับ

การเลือกซื้อเครื่องมือผมแนะนำว่าควรจะเลือกซื้อที่สามารถใช้งานได้ ในราคาที่เหมาะสม ถ้าเราประหยัดงบมากเกินไปใช้งานไปสักพักเราก็ต้องซื้อเครื่องมือใหม่อยู่ดีเพราะว่าเครื่องมือแต่ละชิ้นมันก็มีขีดจำกัดในการใช้งาน หรือบางทีเครื่องมือนั้นอาจทำให้งานเราเสียหายได้ ผมมีเซ็ตเครื่องมือเริ่มต้นที่ใช้งานได้ดีใช้งานได้ยาวนานโดยไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ ในเวลาอันสั้น

เครื่องมือซ่อมโทรศัพท์มือถือที่ผมแนะนำในชุดเริ่มต้นมีอะไรบ้าง

1. หัวแร้ง SUGON T26D ราคาประมาณ 6,500 บาทพร้อมปลายแท้ JBC สองปลาย แนะนำให้ใช้ปลายตัดและปลายแหลมโค้ง

2. เครื่องเป่าลมร้อน Quick 2008D ราคาประมาณ 3000 บาท ถึงแม้ว่าจะให้แรงลมที่ไม่แรงมากนักแต่ก็ถือว่าใช้งานได้ดีในราคาประหยัด

3. เพาเวอร์ซัพพลาย Korad KA3005D ราคาประมาณ 2500 บาทเป็นเพาเวอร์ซัพพลายที่ใช้งานได้ดีในราคาที่ไม่สูงมาก

4. มัลติมิเตอร์ Fluke 15B+ ราคาประมาณ 2500 บาท เป็นมิเตอร์ที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นมีย่านวัดให้ใช้งานครบแต่มีข้อเสียตรงที่ว่าย่านวัดไดโอดจะไม่มีเสียง แต่ก็ไม่ใช่สาระสำคัญในการใช้งาน

5. กล้องขยายไมโครสโคป ถ้าต้องการประหยัดงบก็หาซื้อกล้องแบรนด์มือสองก็ราคาประมาณไม่เกิน 5,000 บาทเช่นยี่ห้อ Olypus Nikon Carton มีจำหน่ายทั่วไปตามเพจ Facebook

6. เครื่องมือแกะเครื่องและอุปกรณ์สิ้นเปลืองเช่น ฟลั๊ก ตะกั่ว ใครควง ครีมตัด พี่จับบอร์ด ราคารวมแล้วประมาณ 2000 บาท

ราคาของเครื่องมือชุดนี้จะอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท รวมกับค่าเรียนคอร์สตัวต่อตัวที่ผมสอนใช้เวลา 5 วัน เรียนจบพร้อมเปิดร้าน 15,000 บาท

ดังนั้นทุนเครื่องมือบวกกับความรู้ตอนนี้เราใช้งบไปประมาณ 35,000 บาท

และถ้าเรียนออนไลน์คอร์สจากศูนย์ถึงร้อย ก็จะยิ่งประหยัดไปอีก แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาที่มันนานขึ้นเพื่อฝึกซ้อม ทักษะการทำงาน

มีเรื่องตลกเรื่องหนึ่งผมถามเพื่อนรุ่นน้องที่สนิทกัน ตอนนี้มีรายได้จากค่าซ่อมเดือนละประมาณสองแสนอัพ ถามว่าตอนเริ่มต้นเปิดร้านซ่อมใช้งบเท่าไร

เขาตอบว่าผมมีเก้าอี้ตัวเดียวครับ ทำแล้วค่อยเอากำไรไปทยอยซื้อเครื่องมือ อันไหนทำไม่ได้ก็ส่งก่อน แค่อยากจะบอกว่าถ้าเราไม่มีทุนเราต้องใช้ความคิดให้มากกว่าคนอื่น

  • แกะเครื่องเปลี่ยนแบตเปลี่ยนจอ
  • ขั้นตอนวิธีการอัพเดทและรีสโตร์
  • การใช้งานโปรแกรม iTunes และ 3utools
  • การประเมินราคาเครื่องซ่อม
  • การใช้งานหัวแร้ง
  • การใช้งานเครื่องเป่าลมร้อน
  • การใช้งานพาวเวอร์ซัพพลาย
  • การใช้งานกล้องขยายไมโครสโคป
  • การใช้งานมัลติมิเตอร์
  • เครื่องมือซ่อมอื่นๆเช่น แหนบ ที่จับบอร์ด ตะกั่ว ฟลั๊ก
  • ไอซีทั่วไปที่มีตัวถังหนา
  • ไอซีที่เป็นกระจก
  • ไอซีที่มีกาวและการขูดกาว
  • อุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น R L และ C
  • ยกซ็อคเก็ตอย่างไรเอามาใช้งานต่อได้
  • วงจรคืออะไร ทำไมต้องวิเคราะห์วงจร
  • เครื่องมือที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์วงจรมีอะไรบ้าง
  • วิธีเขียนบล็อกไดอะแกรม
  • การอ่านผังวงจร
  • ความสัมพันธ์ทางไฟฟ้า
  • ความแตกต่างของวงจรอนุกรมและวงจรขนาน
  • แรงดันและกระแส
  • ตัวนำไฟฟ้าและฉนวน
  • สารกึ่งตัวนำและการไบแอส
  • ฟอร์เวิร์สไบอัสและรีเวิร์สไบอัส
  • ตัวต้านทาน (Resistor)
  • ตัวเหนี่ยวนำ (Inductor)
  • ตัวเก็บประจุ (Capacitor)
  • ไดโอด (Diode)
  • ทรานซิสเตอร์ (Transistor)
  • มอสเฟต (MOSFET)
  • วงจรเพิ่มแรงดันไฟฟ้า (Boost converter circuit)
  • วงจรลดแรงดันไฟฟ้า (Buck converter circuit)
  • วงจรลดแรงดันไฟฟ้าจ่ายไฟลบ (Negative buck supplies)
  • วงจรลดแรงดันไฟฟ้าแรงดันตกคร่อมต่ำ (Low Drop Output : LDO)
  • Bootstrap in the buck circuit (เป็นวงจรที่ถูกใช้ในระบบชาร์จ)
  • Charge pump circuit
  • อนาล็อค Analog
  • ดิจิตอล Digital
  • ลอจิค Logic
  • การสื่อสารแบบอนุกรมและขนาน
  • Inter Integrated Circuit (i2c)
  • High-Speed Data Queue Protocol (HDQ Protocol)
  • Serial Peripheral Interface (SPI)
  • JTAG (Joint Test Action Group)
  • SWD (Single Wire Debug)
  • MIPI Mobile Industry Processor Interface
  • LPDP Low Power Display Port
  • UART (Universal Asynchronous Receiver-Transmitter)
  • โครงสร้างไฟเลี้ยงหลัก ไฟเลี้ยงรอง
  • การทำงานของระบบชาร์จแบตเตอรี่
  • ขั้นตอนการเปิดเครื่อง 5 ขั้นตอน
  • การทำงานของการแสดงผลและไฟจอ
  • การทำงานของกล้องถ่ายภาพ
  • ขั้นตอนเพิ่มความจุของหน่วยความจำ
  • ขั้นตอนเปลี่ยนไวไฟที่ต้องเขียนค่าปลดล็อค
  • ขั้นตอนซ่อมระบบชาร์จแบตเตอรี่
  • ขั้นตอนซ่อมเครื่องกินกระแสก่อนเปิดเครื่อง
  • ขั้นตอนซ่อมเครื่องกินกระแสหลังเปิดเครื่อง
  • เทคนิคการแยกและประกบบอร์ด
  • อ่านลายวงจรบอร์สองชั้น
  • แนวทางการซ่อม Face ID
  • วงจรกรองความถี่
  • การผสมสัญญานและการแยกสัญญาน
  • การจัดการพลังงานของภาคสัญญาณ
  • การเริ่มต้นการทำงานของระบบสัญญาณโทรศัพท์
  • การเริ่มต้นภาคสัญญาณ Qualcomm
  • การเริ่มต้นภาคสัญญาณ Intel
  • ขั้นตอนซ่อมหมายเลขอีมี่หาย
  • ขั้นตอนซ่อมไม่มีสัญญาณ

เมื่อมาถึงตรงนี้แสดงว่าคุณได้เรียนจนจบบทเรียนแล้ว ดังนั้นคุณก็พอจะมองเห็นว่าการซ่อมโทรศัพท์มือถือนั้นไม่ยากอย่างที่คิด แต่ในการเรียนออนไลน์ผมไม่สามารถไปบังคับให้ฝึกปฏิบัติได้

การซ่อมโทรศัพท์มือถือจะต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือที่ดี และสิ่งที่จะทำให้มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่ดี ก็คือการฝึกซ้อม

อย่าลืมนะครับซ่อมเป็นเห็นเงินล้าน ขอบคุณทุกคนที่สมัครเรียนคอร์สนี้ 

วิธีเดียวที่จะทำให้คุณซ่อมมือถือเก่ง นั่นคือคุณจะต้องซ่อมมันทุกวัน

 ~ Tibet ~

วิธีการลงทะเบียน

1. ราคาคอร์ส 2590 บาท

2. ชำระเงินผ่านธนาคารกสิกรไทย        

ลขที่บัญชี 578-2-03977-8        

ชื่อบัญชี นายทิเบต สายเสมา

3. แจ้งโอนเงินได้ที่ Line ID : @fixlikepro      

ระบุว่าสมัครเรียนคอร์ส 0-100

สอบถามเพิ่มเติม โทร 093-4596562 (ทิเบต)

รายละเอียดเพิ่มเติม

  • คอร์สนี้เป็นคอร์สเรียนออนไลน์ลงทะเบียนแล้วเข้าเรียนได้ทันที
  • มีระยะเวลาอยูในคอร์สสองปี
  • มีอัพเดทเนื้อหาใหม่ให้ทันสมัย
  • การสอบถามปัญหางานซ่อมสามารถสอบถามได้ในระหว่างเรียนและเรียนจบไปแล้ว